การแต่งกลอนสุภาพ
๑. บท บทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่ง แต่ละวรรคมีแปดคำ จึงเรียกว่า กลอนแปด ๒. เสียงคำ กลอนทุกประเภทจะกำหนดเสียงคำท้ายวรรคเป็นสำคัญ กำหนดได้ ดังนี้ คำท้ายวรรคสดับ กำหนดให้ใช้ได้ทุกเสียง คำท้ายวรรครับ กำหนดห้ามใช้เสียงสามัญกับตรี คำท้ายวรรครอง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี คำท้ายวรรคส่ง กำหนดให้ใช้เฉพาะเสียงสามัญกับตรี ๓. สัมผัส ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคที่หนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่สามหรือที่ห้า ของวรรคที่สอง (วรรครับ) คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่สาม (วรรครอง) และคำที่สามหรือที่ห้าของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) สัมผัสระหว่างบท ของกลอนแปด คือ คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไปต้องรับสัมผัส ที่คำสุดท้ายของวรรคที่สอง (วรรครับ) ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกลอนแปด แบ่งช่วงจังหวะออกเป็นสามช่วง ดังนี้ หนึ่งสองสาม – หนึ่งสอง – หนึ่งสองสาม |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น